ประวัติความเป็นมาของการเต้นรำแบบ Ball Room Dance
การเต้นรำที่จัดอยู่ในช่วงสมัยใหม่นั้นมีมานานเกือบสองศตวรรษแล้ว
กล่าวคือเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.1812 เมื่อมีการนำการจับคู่เต้นรำแบบใหม่คือ
ชายจับมือและโอบเอวของคู่เต้นรำ (MODERN HOLD) มาใช้กับการนำการจับคู่เต้นรำจังหวะวอลทซ์ (WALTZ) ซึ่งในขณะนั้นได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายศาสนจักร
มีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับกำเนิดของการเต้นรำจังหวะวอลทซ์ คือ
ชาวฝรั่งเศสเชื่อว่ากำเนิดของวอลทซ์มาจากการเต้น"วอลต้า" (VOLTA) ซึ่งเป็นการเต้นรำแบบหมุนตัวสามครั้ง ที่เข้ามาในเมืองโปรวองซ์ (PROVENCE) จากประเทศอิตาลี
ก่อนที่อาร์โบจะเขียนหนังสือชื่อ "อาคิโซกราฟี่"
และเช็กสเปียร์ได้กล่าวถึงการเต้นรำแบบวอลต้าว่าเป็นการเต้นรำที่ผู้ชายจะเหวี่ยงคู่เต้นรำไป
รอบๆ เรียกว่า "โซมาเจอร์" (SAUT MAJOR)ซึ่งพระนางแมรี่แห่งสก็อตแลนด์
และพระราชินีเอลิซาเบธ (ELIZABETH 1) แห่งอังกฤษทรงโปรดปรานมาก
แต่ในปัจจุบันเชื่อกันว่ากำเนิดของวอลทซ์น่าจะมาจากดินแดนทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี
ในราวปี ค.ศ.1780 ซึ่งโทมัส วิลสัน (THOMAS
WILSON) ครูสอนเต้นรำชาวอังกฤษแห่งโรงละครคิงส์ (KING'S
THEATRE) ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับการเต้นรำจังหวะวอลทซ์ไว้ในหนังสือชื่อ
"วอลทซ์ซิ่ง" (WALTZING) ซึ่งพิมพ์ในปี 1816 ไว้ว่า "วอลทซ์เป็นการเต้นรำชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนินจากชาวเยอรมัน
เป็นที่รู้จักกันครั้งแรกในแคว้น สวาเบีย (SWABIA) ซึ่งเป็นหนึ่งในเก้าแคว้นของประเทศเยอรมนี
และได้แพร่หลายไปยังแคว้นใกล้เคียงอื่นๆ หลังจากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วยุโรป
ซึ่งลักษณะท่าทางการเต้นรำส่วนใหญ่ไม่เพียงแต่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเท่านั้น
ยังมีการเพิ่มเติมหลักการต่างๆ มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้เพื่อให้เป็นการเต้นรำที่ทันสมัยที่สุดแบบหนึ่ง
เมื่อสิ้นสุดศตวรรษที่ 18 เข้าสู่ศตวรรษที่ 19 รูปแบบการเต้นรำจังหวะวอลทซ์เป็นการเต้นตามทำนอง 3-8 ซึ่งค่อนข้างเป็นการเต้นรำแบบชุด (SET DANCE) โดยคู่เต้นรำยืนเป็นวงกลมรอบห้องจับมือกันไว้
การเต้นจะประกอบด้วยลวดลายต่างๆ กันหลายลวดลาย ดังหลักฐานภาพวาดการเต้นซึ่งวาดโดย
โทมัส โรว์แลนด์สัน (THOMAS ROWLANDSON) ในหนังสือของวิลสันที่พิมพ์ในปี
ค.ศ.1806
ประมาณปี ค.ศ.1812 การเต้นรำจังหวะวอลทซ์ที่มีการจับคู่แบบใหม่ก็ฝังรากลึกลงในประเทศอังกฤษ
ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ (CARL MARIA
VON WEBER) ผู้ประพันธ์เพลง "แดร์ ไฟรชิทซ์" และ
"โอเบอรอง" ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงมากคือ
"อินวิเทชั่นอาลาวัลส์"(INVITATION A'LA VALSE) ซึ่งพจนานุกรมของโกรฟ (GROVE'S DICTIONARY)อธิบายว่าเป็นการปรับปรุงรูปแบบของวอลทซ์ให้เป็นดนตรีอย่างแท้จริง
ซึ่งการเต้นวอลทซ์ที่มีการจับคู่แบบใหม่นี้ ในตอนแรกได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายศาสนจักร
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ปกครองมีการเสียดสีเยาะเย้ยเพื่อมิให้สาวๆ
เข้าร่วมในการเต้นรำ แต่สภาพการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น
ในที่สุดสังคมก็ยอมรับการเต้นรำแบบใหม่นี้เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ (ALEXANDER) แห่งรัสเซียได้เต้นรำจังหวะวอลทซ์ที่อัลแมค (ALMACK'S
HALL) ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับผู้มีเกียรติยศชั้นสูง
CARL MARIA VON WEBER
ความก้าวหน้าของการเต้นรำที่เราเรียกว่าเป็นการเต้นรำสมัยใหม่เกิดขึ้นในช่วง
ค.ศ.1830-1840 เมื่อมีการเต้นรำแบบใหม่ๆ
มากขึ้น รวมทั้งการเต้นโพลก้า (POLKA) ซึ่งมีกำเนิดจากโบฮีเมีย(BOHEMIA) มาเซอร์ก้า (MAZURKA) จากโปแลนด์
และชาติชขึ้นในสถานที่เต้นรำต่างๆ ในขณะเดียวกันก็มีแนวโน้มที่จะตัดลวดลายการเต้นที่เคยมีมา
เช่น อองเตรอะชา และรองด์เดอชองเบอะ ซึ่งอยู่ในการเต้นรำแบบ "กาดริย์"
และการเต้นรำแบบอื่นๆ ออกไป ในปี ค.ศ.1848 เซลลาริอุส
ครูสอนเต้นรำที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น
เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีส่วนเคลื่อนไหวสำคัญในการปฏิรูปการเต้นรำ ได้เขียนหนังสือชื่อ
"การเต้นรำที่ทันสมัย" (FASHIONABLE DANCING) มีข้อความที่น่าสนใจคือ
"ในขณะนี้ผู้เต้นรำวัยหนุ่มสาวถูกกล่าวหาว่ามาเดินมิใช่มาเต้นรำ
พวกเขาทำผิดหรือไม่การที่ไม่เต้นอองเตรอะชาและรองด์เดอชองเบอะ
และการเต้นที่ยุ่งยากในสมัยก่อนซึ่งยากที่จะจดจำ ไม่สมบูรณ์ และตลกที่สุด
ซึ่งมีผู้นำมาแสดงตามเวทีโรงละคร มันเป็นศิลปะที่สมบูณ์หรือไม่"
พระนางวิคตอเรีย
(ค.ศ. 1837-1901)
เมื่อสิ้นสุดสมัยพระนางวิคตอเรีย (VICTRIA
ERA) การเต้นรำแบบบอลรูมมีแนวโน้มว่าจะหยุดอยู่กับที่
ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่าเนื่องจากขาดดการพัฒนารูปแบบการเต้นแบบใหม่ๆ
มีการนำการเต้นแบบทูสเต็ป(TWO STEP) ซึ่งนิยมเต้นกันในนิวยอร์กเข้ามาในอังกฤษ
แต่เป็นการเต้นแบบ "แชสเซ่อาตรัวปาส"(CHASSE' A' TROIS
PAS) จนกระทั่งในตอนต้นศตวรรษที่ 20 นี้ ก็ได้มีการเต้นรำแบบใหม่ๆ ที่ใช้เต้นกับดนตรีจังหวะวอลทซ์ที่เรียกว่าการเต้น
"บอสตัน" (BOSTON) และการเต้น
"แร็ก" (RAG)ซึ่งการเต้นรำแบบใหม่ๆนี้เป็นที่นิยมของคนหนุ่มสาวซึ่งเบื่อหน่ายวอลทซ์และการเต้นรำแบบใหม่นี้ก็ได้สร้างความมีชีวิตชีวาให้แก่สถานที่เต้นรำขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
เยาวชนซึ่งเต้นรำตามสโมสรต่างๆ ก่อนหน้าสงครามปี ค.ศ.1914 ได้เปลี่ยนแปลงเทคนิคและรูปแบบการเต้นรำของครูเก่าๆ
เกี่ยวกับการก้าวเท้า 5 ตำแหน่ง
และการเคลื่อนไหวที่สวยงาม และเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 สถาบันเต้นรำเก่าๆ เปลี่ยนบรรดากรรมการ
จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงการเต้นขึ้นโดยบรรดานักเต้นรำด้วยกันเอง กล่าวคือ
"ไปตามสบาย
อย่างอิสระที่ต้องการในการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติอาจจะมากกว่า
หรือน้อยกว่าก็ได้"
ซึ่งเทคนิคการเต้นรำใหม่นี้มีพื้นฐานจากการเคลื่อนไหวตามธรรมชาตินั่นเอง
และการเกิดขึ้นของการเต้นรำในจังหวะฟอกซ์ทร็อต (FOXTROT)
ในปี ค.ศ.1914 ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากก็ยิ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นจนไม่เหลือเทคนิคเก่าๆ
อีกเลย
การเต้นรำที่ไม่มีกฎเกณฑ์นี้เกิดขึ้นจนกระทั่งปี ค.ศ.1918 หลังจากที่มีการประกาศยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงได้เริ่มมีการวางกฎเกณฑ์ขึ้นในปี ค.ศ.1920 โดย
"เดอะด๊านซิ่งไทม์" (THE DANCING TIMES) ได้จัดให้มีการประชุมครูสอนเต้นรำขึ้นอย่างไม่เป็นทางการเพื่อพยายามวางกฎเกณฑ์
และแบบแผนของการเต้นฟอกซ์ทร็อตและวันสเต็ป (ONE STEP) ให้เป็นมาตรฐาน และได้มีการสาธิตการเต้นรำจังหวะฟอกซ์ทร็อต โดยมี
มัวไรซ์และลีโอโนรา ฮิวส์ (MAURICE AND LEONORA HUGHES) เป็นผู้สาธิตการเต้นด้วย
ซึ่งครูสอนเต้นรำเหล่านี้เป็นกลุ่มนักเต้นรำรุ่นแรกๆ ของโลก
ที่รับรู้ว่าการเต้นรำแบบเก่าๆ หมดไปแล้ว และได้พัฒนาเทคนิคการเต้นรำแบบบอลรูมใหม่ (MODERN
BALLROOM) ให้มีพื้นฐษนการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ
ด้วยการก้าวเท้าไปตามแนวทิศทางของการเดิน (ALIGNMENT) ในการลีลาศ
ต่อมาในปี ค.ศ.1924 ครุสอนเต้นรำกลุ่มนี้ได้เลือกตั้งคณะกรรมการของสมาคมครูสอนเต้นรำในสาขาการเต้นรำแบบบอลรูมขึ้นเป็นครั้งแรก (COMMITTEE
OF THE "BALLROOM BRANCH" OF THE IMPERIAL SOCIETY OF TEACHERS OF
DANCING) ซึ่งคณะกรรมการชุดแรกนี้ประกอบด้วย โจเซฟิน แบรดเลย์ , อีฟ ทีนนีเกท สมิช , มัวรีล ซิมมอนส์ , ลิสลี ฮัมฟรีย์
และวิคเตอร์ ซิลเวสเตอร์
สมาคมครูสอนเต้นรำนี้ได้พัฒนาและกำหนดแบบแผนการเต้นรำมาจนถึงปัจจุบันที่เรียกกันว่าการเต้นรำ
"สไตล์อังกฤษ" ซึ่งได้รับการเผยแพร่และมีอิทธิพลไปทั่วโลก
ในปี ค.ศ.1929 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการลีลาศ (OFFICIAL
BOARD OF BALLROOM DANCING) ขึ้นในประเทศอังกฤษและได้ทำหน้าที่จัดการแข่งขันลีลาศขึ้นทุกปีโดยเริ่มจัดแข่งขันชิงแชมเปี้ยนสหราชอาณาจักรขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมืองแบลคพูล (BLACKPOOL)
ปี ค.ศ.1950 ประเทศต่างๆ
ได้ร่วมกันก่อตั้งสภาการลีลาศนานาชาติขึ้น (INTERNATIONAL COUNCIL OF
BALLROOM CANCING : I.C.B.D.) และในปีเดียวกันนี้ได้มีการนำจังหวะเต้นรำใหม่ๆ
มาเผยแพร่อีก เช่น จังหวะแมมโบ้ และ ชา ชา ช่า เป็นต้น และในปี ค.ศ.1953 ได้จัดให้มีการแข่งขันลีลาศชิงแชมเปี้ยนระหว่างประเทศขึ้นที่ อับเบิร์ต
ฮอลล์ ในมหาลอนดอน
ปี ค.ศ.1959 ได้มีการจัดแข่งขันลีลาศชิงแชมเปี้ยนโลกขึ้นที่ประเทศอังกฤษ
โดยจัดแข่งขันทั้งประเภทสมัครเล่นและอาชีพ
ตามกฎเกณฑ์ที่สภาการลีลาศระหว่างประเทศกำหนด จังหวะที่จัดให้มีการแข่งได้แก่ วอลทซ์แบบอังกฤษ
ฟอกซ์ทร็อต แทงโก้ ควิกสเตป และควิกวอลทซ์หรือเวียนนิสวอลทซ์
ในโอกาสนี้ประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
ได้แนะนำการเต้นรำจังหวะร็อคแอนด์โรลให้ชาวโลกได้รู้จัก
ในสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ.1960 มีการเต้นรำจังหวะใหม่ๆ
ซึ่งเกิดขึ้นโดยอเมริกันนิโกร คือ จังหวะทวิสต์(TWIST) การเต้นรำจะใช้การบิดลำตัว
เข่าโค้งงอ การเต้นไม่จำเป็นต้องจับคู่กัน คือต่างคนต่างเต้น และจังหวะฮัลเซ่ล
ซึ่งได้รับความนิยมไปทั่วโลก
ปี ค.ศ.1970 จังหวะการเต้นรำที่เรียกว่าดิสโก้
ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นจังหวะที่ผู้เต้นสามารถเต้นได้ตามลำพัง
และรูปแบบการเต้นการเคลื่อนไหวขึ้นอยู่กับผู้เต้นเอง
เป็นการเต้นรำที่ผู้เต้นมีอิสระในการเคลื่อนไหวอย่างมาก
ปัจจุบันมีการเต้นรำแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกหลายจังหวะ เช่น แฟลชแด๊นซ์ (FLASH
DANCE) เบรกแด๊นซ์ (BRAKE DANCE) และแร็พ (RAP) ซึ่งมักมีกำเนิดจากอเมริกันนิโกร
และยังมีการเต้นรำโดยใช้ท่าบริหารร่างกายประกอบจังหวะดนตรีที่เรียกว่า "แอโรบิกแด๊นซ์" ซึ่งได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันการเต้นรำในแบบต่างๆเหล่านี้ไม่จัดอยู่ประเภทของการลีลาศ
No comments:
Post a Comment