Monday, December 23, 2013

รายวิชาสุขศึกษา และพลศึกษา (พ30106) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
เรื่อง
ประวัติทางการแพทย์ มารยาทของการเต้นรำ และประวัติความเป็นมาของการเต้นรำ
แบบ Ball Room Dance
จัดทำโดย 
น.ส.ญณิศา   อัชญาวัฒน์ เลขที่ 1 
น.ส.ธัญวรัตม์  อ่วยสุข เลขที่ 2 
น.ส.นัทธมน  สิริโชติกุล เลขที่ 3
น.ส.ภัทร์นฤน  ขัตติยะสุวงศ์ เลขที่ 6 
ชั้นมัธยมศึกษาปีที 6/6





ประวัติการแพทย์ไทย

วิวัฒนาการการแพทย์แผนไทย

ยุคก่อนอาณาจักรสุโขทัย
ศิลาจารึกของอาณาจักรขอม ได้จารึกไว้ว่าประมาณ พ.ศ. 1725 – 1729 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลตามความเชื่อในศาสนาพุทธ โดยสร้างสถานพยาบาลเรียกว่า อโรคยศาล ขึ้น 102 แห่งในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและบริเวณใกล้เคียง และกำหนดผู้ทำหน้าที่รักษาพยาบาลไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ หมอ , พยาบาล , เภสัช , ผู้จดสถิติ , ผู้ปรุงอาหารและยา รวม 92 คน รวมทั้งมีพิธีกรรมบวงสรวง พระไภสัชยคุรุไวฑูรย์ประภา ตามความเชื่อทางศาสนาพุทธลัทธิมหายาน ด้วยการบูชา ด้วยยาและอาหาร ก่อนแจกจ่ายให้ผู้ป่วย ปัจจุบันมีอโรคยศาลที่ยังเหลือประสาทที่สมบูรณ์ที่สุดคือกู่บ้านเขว้าจังหวัดมหาสารคาม

สมัยสุโขทัย
มีการค้นพบหินบดยาสมัยทวาราวดี ซึ่งเป็นยุคก่อนสุโขทัย และจากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ได้บันทึกไว้ว่า ทรงสร้างสวนสมุนไพรขนาดใหญ่บนเขาหลวงหรือเขาสรรพยา เพื่อให้ราษฎรได้เก็บสมุนไพรไปใช้รักษาโรคยามเจ็บป่วยปัจจุบันภูเขาดังกล่าวอยู่ในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ในยุคนี้ศาสนาพุทธลัทธิหินยานมีบทบาทอย่างมาก พระภิกษุนิยมธุดงค์ ศูนย์รวมของวัฒนธรรมและการศึกษาอยู่ที่วัด เชื่อว่าพระภิกษุยุคนี้มีความรู้ในการรักษาตนเองด้วยสมุนไพรและช่วยเหลือแนะนำประชาชนด้วย

สมัยอยุธยา
การแพทย์สมัยอยุธยามีลักษณะผสมผสาน ปรับประยุกต์องค์ความรู้การแพทย์พื้นบ้านทั่วราชอาณาจักร ผสมกับความเชื่อตามแนวปรัชญาแนวพุทธ รวมทั้งความเชื่อ ทางไสยศาสตร์และโหราศาสตร์เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของชุมชน
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พบบันทึกว่ามีระบบการจัดหายาที่ชัดเจน สำหรับประชาชนมีแหล่งจำหน่ายยาสมุนไพรหลายแห่ง ทั้งในและนอกกำแพงเมือง มีการรวบรวมตำรับยาต่าง ๆ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย เรียกว่า ตำราพระโอสถพระนารายณ์ การแพทย์แผนไทยสมัยนี้รุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนวดไทย การแพทย์ตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาท โดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสได้จัดตั้งโรงพยาบาลรักษาโรคแต่ก็ขาดความนิยมและล้มเลิกไป

การแพทย์สมัยรัชกาลที่ 1
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงปฏิสงขรณ์วัดโพธาราม หรือวัดโพธิ์ขึ้นเป็นอารามหลวง ให้ชื่อว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และโปรดเกล้าฯให้รวบรวมและจารึกตำรายา ท่าฤๅษีดัดตน และตำราการนวดไทยไว้ตามศาลาราย มีการจัดตั้งกรมหมอโรงพระโอสถคล้ายกับในสมัยอยุธยา ผู้ที่รับราชการเรียกว่าหมอหลวง ส่วนหมอที่รักษาประชาชนทั่วไป เรียกว่าหมอราษฎรหรือหมอเชลยศักดิ์

การแพทย์สมัยรัชกาลที่ 2
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้เหล่าผู้ชำนาญลักษณะโรคและสรรพคุณยา รวมทั้งผู้ที่มีตำรายาดี ๆ นำเข้ามาทูลเกล้าฯถวาย และให้กรมหมอหลวงคัดเลือกและจดเป็นตำราหลวงสำหรับโรงพระโอสถ พ.ศ.2395 โปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายชื่อว่า กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย

การแพทย์สมัยรัชกาลที่ 3
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ อีกครั้งและโปรดเกล้าฯ ให้จารึกตำรายาบอกสมุฏฐานของโรคและวิธีรักษาไว้บนแผ่นหินอ่อน ประดับตามผนังโบสถ์และศาลาราย และทรงให้ปลูกต้นสมุนไพร ที่หายากไว้ในวัดเป็นจำนวนมากนับเป็นการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมิได้จำกัดอยู่เพียงในวงศ์ตระกูลเหมือนแต่ก่อน นอกจากนี้ยังทรงปฏิสังขรณ์วัดราชโอรสารามและได้จารึกตำราไว้ในแผ่นศิลาตามเสาระเบียงพระวิหาร รัชสมัยนี้มีการนำการแพทย์แบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ โดยคณะมิชชันารีชาวอเมริกัน โดยการนำของนายแพทย์แดนบีช บรัดเลย์ ซึ่งคนไทยเรียกว่า หมอปรัดเลย์ ซึ่งนำวิธีการแพทย์แบบตะวันตกเข้ามาใช้ เช่น การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ การใช้ยาเม็ดควินินรักษาโรคไข้จับสั่น เป็นต้น นับเป็นวิวัฒนาการการแพทย์แผนไทยและแผนตะวันตก


แผ่นศิลาที่จารึกตำรายา ณ วัดราชโอรสาราม

การแพทย์สมัยรัชกาลที่ 4
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้นำการแพทย์แผนตะวันตกมาใช้มากขึ้น เช่น การสูติกรรมสมัยใหม่ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนความนิยมของชาวไทยได้ เพราะการแพทย์แผนไทยเป็นวิถีชีวิตของคนไทยเป็นจารีตประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบเนื่องกันมา

การแพทย์แผนไทยสมัยรัชกาลที่ 5
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจัดตั้งศิริราชพยาบาลขึ้นในปี พ.ศ. 2431 ซึ่งมีการเรียนการสอนและให้การรักษาทั้งการแพทย์ แผนไทยและแผนตะวันตกร่วมกัน มีการพิมพ์ตำราแพทย์ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2438 ชื่อ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 – 4 ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นตำราแห่งชาติฉบับแรก ต่อมาพระยาพิษณุประสาทเวช ( หมอคง ) เห็นว่าตำรายาเหล่านี้ยากแก่ผู้ศึกษา จึงพิมพ์ตำราขึ้นใหม่ได้แก่ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 2 เล่มและตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป เล่มซึ่งกระทรวงสาธารณสุขยังคงใช้มาจนทุกวันนี้



พระยาพิษณุประสาทเวช ( หมอคง )

การแพทย์แผนไทยสมัยรัชกาลที่ 6
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการสั่งยกเลิกวิชาการแพทย์แผนไทย และมีประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติการแพทย์เพื่อควบคุมการประกอบโรคศิลปะ เพื่อป้องกันอันตรายอันเนื่องมาจากการประกอบการของผู้ที่ไม่มีความรู้และมิได้ฝึกหัด ด้วยความไม่พร้อมในด้านการเรียนการสอน การสอบ และการประชาสัมพันธ์ ทำให้หมอพื้นบ้านจำนวนมากกลัวถูกจับจึงเลิกประกอบอาชีพนี้ บ้างก็เผาตำราทิ้ง จะมีหมอแผนโบราณเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่สามารถปฏิบัติได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนับเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียที่ควรคำนึงถึง

การแพทย์แผนไทยสมัยรัชกาลที่ 7
กฎหมายเสนาบดี ได้แบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็นแผนปัจจุบันและแผนโบราณ มีการศึกษาวิจัยสมุนไพรขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2485 – 2486 ขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ลุกลามเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนยา ศาสตราจารย์ นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ได้ศึกษาวิจัยสมุนไพรที่ใช้รักษาไข้มาลาเรียที่โรงพยาบาลสัตหีบ หลังจากสงครามโลกสงบลง ยังคงมีปัญหาขาดแคลนยาแผนปัจจุบัน รัฐบาลจึงมีนโยบายให้องค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข ผลิตยาสมุนไพรเป็นยารักษาโรค

องค์กรเอกชนด้านการแพทย์แผนไทย
ปี พ.ศ. 2500 มีการก่อตั้งสมาคมโรงเรียนแพทย์แผนโบราณขึ้นที่วัดโพธิ์ กรุงเทพฯ นับแต่นั้นมาสมาคมต่าง ๆ ก็ได้แตกสาขาออกไป ปัจจุบันมีโรงเรียนแพทย์แผนโบราณที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องอยู่เป็นจำนวนมากทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด

ปี พ.ศ. 2526 ศาสตราจารย์ นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ แพทย์แผนปัจจุบันผู้ซึ่งเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ของการแพทย์แผนไทยเป็นอย่างดี ได้ก่อตั้งมูลนิธิฟื้นฟูการแพทย์ไทยเดิมขึ้น ทำให้เกิดอายุรเวทวิทยาลัย ( ชีวกโกมารภัจจ์ ) ผลิตแพทย์แผนโบราณแบบประยุกต์ หลักสูตร 3 ปี ในโอกาสต่อมา นับได้ว่า ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ เป็นบิดาของการแพทย์แผนไทยแบบประยุกต์ ที่เปิดโอกาสให้แพทย์แผนไทยฟื้นตัวอีกครั้ง

ที่มา : http://benkyoshin.blogspot.com/2008/01/blog-post.html


มารยาทในการเต้นลีลาศ

                                     

       
            เนื่องจากลีลาศถือว่าเป็นศิลปะที่สวยงามและเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในงานสังคมเพื่อ ความสนุกสนาน ความเข้าใจอันดีในหมู่ผู้ร่วมงานอย่างหนึ่ง ฉะนั้นเพื่อให้การลีลาศเป็นไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม และบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายปลายทาง ผู้ลีลาศควรมีการเตรียมตัวและการปฏิบัติตนตามหลักของมารยาทในการลีลาศที่ สำคัญ ๆ ดังนี้

การเตรียมตัว
1. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด และรู้จักใช้ยาเพื่อระงับกลิ่นตัว
2. แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาดและสุภาพเรียบร้อยตามโอกาส
3. ควรเลือกใช้เครื่องสำอางไม่ควรใช้เครื่องสำอางที่มีกลิ่นฉุนจนเกินไป
4. ฝ่ายชายต้องนึกว่าตัวเองเป็นผู้ให้เกียรติแก่ฝ่ายหญิงอยู่เสมอ
5. ควรซักซ้อมจังหวะลีลาศจังหวะต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ
6. ฝ่ายชายควรให้เกียรติไปรับฝ่ายหญิงและไปให้ถึงงานในเวลาอันสมควร

ก่อนออกลีลาศ
1. ฝ่ายชายควรเป็นผู้เชื้อเชิญฝ่ายหญิงออกลีลาศ
2. ก่อนเชิญฝ่ายชายควรแน่ใจว่าฝ่ายหญิงสามารถลีลาศในจังหวะนั้นได้
3. ไม่ควรเชื้อเชิญฝ่ายหญิงที่มากับผู้ชายอื่นออกลีลาศ แต่ถ้าหากมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันแล้วก็อาจทำได้
4. ถ้าหากฝ่ายหญิงปฏิเสธการออกลีลาศก็อาจทำได้แต่ควรปฏิเสธด้วยวาจาที่สุภาพเรียบร้อย
5. ฝ่ายชายควรเห็นอกเห็นใจฝ่ายหญิงบ้าง ไม่ควรเชิญออกลีลาศทุก ๆ เพลงติดต่อกันมากเกินไปทั้งนี้เพื่อให้ฝ่ายหญิงได้มีโอกาสพักผ่อนบ้าง
6. ก่อนออกลีลาศควรฟังจังหวะเพลงนั้น ๆ ให้ออกเสียก่อน

การลีลาศ
1. ขณะที่พาสุภาพตรีไปที่ฟลอร์ลีลาศ สุภาพบุรุษควรเดินนำหน้า หรือเดินเคียงคู่กันไป เพื่อให้ความสะดวกแก่สุภาพสตรี และเมื่อไปถึงฟลอร์ลีลาศ ควรให้เกียรติสุภาพสตรีเดินขึ้นไปบนฟลอร์ลีลาศก่อน
2. ในการจับคู่สุภาพบุรุษต้องกระทำด้วยความนุ่มนวลสุภาพ และถูกต้องตามแบบแผนของการลีลาศ ไม่ควรจับคู่ในลักษณะที่รัดแน่นหรือยืนห่างจนเกินไป การแสดงออกที่น่าเกลียดบางอย่างพึงละเว้น เช่น การเอารัดเอาเปรียบคู่ลีลาศ เป็นต้น
3. จะต้องลีลาศไปตามจังหวะ แบบแผน และทิศทางที่ถูกต้องไม่ย้อนแนวลีลาศ เพราะจะเป็นอุปสรรคกีดขวางการลีลาศของคู่อื่น ถ้ามีการชนกันเกิดขึ้นในขณะลีลาศ จะต้องกล่าวคำขอโทษหรือขออภัยด้วยทุกครั้ง
4. ไม่สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือของขบเคี้ยวใด ๆ ในขณะลีลาศ
5. ให้ความสนใจกับคู่ลีลาศของตน ความอบอุ่นเกิดขึ้นได้จากการยิ้มแย้มแจ่มใสหรือคำกล่าวชม ไม่แสดงอาการเบื่อหน่ายหรือหันไปสนใจคู่ลีลาศของคนอื่น และอย่าทำตนเป็นผู้กว้างขวางช่างพูดช่างคุยกับคนทั่วไปในขณะลีลาศ
6. ควรลีลาศด้วยความสนุกสนานร่าเริง
7. ไม่ควรพูดเรื่องปมด้อยของตนเองหรือของคู่ลีลาศ
8. ไม่ควรเปลี่ยนคู่บนฟลอร์ลีลาศ
9. ควรลีลาศในรูปแบบหรือลวดลายที่ง่าย ๆ ก่อน แล้วจึงเพิ่มรูปแบบหรือลวดลายที่ยากขึ้นตามความสามารถของคู่ลีลาศ เพราะจะทำให้คู่ลีลาศรู้สึกเบื่อหน่าย และไม่ควรพลิกแพลงรูปแบบการลีลาศมากเกินไปจนมองดูน่าเกลียด
10. ถือว่าเป็นการไม่สมควรที่จะร้องเพลงหรือแสดงออกอย่างอื่นในขณะลีลาศ หรือลีลาศด้วยท่าทาง
แผลง ๆ ด้วยความคึกคะนอง
11. ไม่ควรสอนลวดลายหรือจังหวะใหม่ ๆ บนฟลอร์ลีลาศ
12. ไม่ควรลีลาศด้วยลวดลายที่ใช้เนื้อที่มากเกินไป ในขณะที่มีคนอยู่บนฟลอร์เป็นจำนวนมาก
13. ในการลีลาศแบบสุภาพชน ไม่ควรแสดงความรักในขณะลีลาศ
14. การนำในการลีลาศเป็นหน้าที่ของสุภาพบุรุษ สุภาพสตรีไม่ควรเป็นฝ่ายนำ ยกเว้นเป็นการช่วยในความผิดพลาดของสุภาพบุรุษ เป็นครั้งคราวเท่านั้น
15. การให้กำลังใจ การให้เกียรติ และการยกย่องชมเชยด้วยใจจริง จะช่วยให้คู่ลีลาศเกิดความรู้สึกอบอุ่นและเชื่อมั่นในตนเองยิ่งขึ้น คู่ลีลาศที่ดี จะต้องช่วยปกปิดความลับหรือปัญหาที่เกิดขึ้นและมองข้ามจุดอ่อนของคู่ลีลาศ
16. ไม่ควรผละออกจากคู่ลีลาศโดยกระทันหัน หรือก่อนเพลงจบ

เมื่อลีลาศจบ
1. สุภาพบุรุษต้องเดินนำหรือเดินเคียงคู่กันลงจากฟลอร์ลีลาศ และนำสุภาพสตรีไปส่งยังที่นั่งให้เรียบร้อย พร้อมทั้งกล่าวคำขอบคุณสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษอื่นที่นั่งอยู่ด้วย
2. เมื่อถึงเวลากลับ ควรกล่าวคำชมเชยและขอบคุณเจ้าภาพ (ถ้ามี)
3. สุภาพบุรุษจะต้องพาสุภาพสตรีที่ตนเชิญเข้างาน ไปส่งยังที่พัก


ที่มา : http://tattwo-2mp.blogspot.com/2012/01/blog-post_6201.html

http://www.mwit.ac.th/~jat/contents/40106/history.pdf
ประวัติความเป็นมาของการเต้นรำแบบ Ball Room Dance


           การเต้นรำที่จัดอยู่ในช่วงสมัยใหม่นั้นมีมานานเกือบสองศตวรรษแล้ว กล่าวคือเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.1812 เมื่อมีการนำการจับคู่เต้นรำแบบใหม่คือ ชายจับมือและโอบเอวของคู่เต้นรำ (MODERN HOLD) มาใช้กับการนำการจับคู่เต้นรำจังหวะวอลทซ์ (WALTZ) ซึ่งในขณะนั้นได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายศาสนจักร

มีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับกำเนิดของการเต้นรำจังหวะวอลทซ์ คือ ชาวฝรั่งเศสเชื่อว่ากำเนิดของวอลทซ์มาจากการเต้น"วอลต้า" (VOLTA) ซึ่งเป็นการเต้นรำแบบหมุนตัวสามครั้ง ที่เข้ามาในเมืองโปรวองซ์ (PROVENCE) จากประเทศอิตาลี ก่อนที่อาร์โบจะเขียนหนังสือชื่อ "อาคิโซกราฟี่" และเช็กสเปียร์ได้กล่าวถึงการเต้นรำแบบวอลต้าว่าเป็นการเต้นรำที่ผู้ชายจะเหวี่ยงคู่เต้นรำไป รอบๆ เรียกว่า "โซมาเจอร์" (SAUT MAJOR)ซึ่งพระนางแมรี่แห่งสก็อตแลนด์ และพระราชินีเอลิซาเบธ (ELIZABETH 1) แห่งอังกฤษทรงโปรดปรานมาก แต่ในปัจจุบันเชื่อกันว่ากำเนิดของวอลทซ์น่าจะมาจากดินแดนทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี ในราวปี ค.ศ.1780 ซึ่งโทมัส วิลสัน (THOMAS WILSON) ครูสอนเต้นรำชาวอังกฤษแห่งโรงละครคิงส์ (KING'S THEATRE) ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับการเต้นรำจังหวะวอลทซ์ไว้ในหนังสือชื่อ "วอลทซ์ซิ่ง" (WALTZING) ซึ่งพิมพ์ในปี 1816 ไว้ว่า "วอลทซ์เป็นการเต้นรำชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนินจากชาวเยอรมัน เป็นที่รู้จักกันครั้งแรกในแคว้น สวาเบีย (SWABIA) ซึ่งเป็นหนึ่งในเก้าแคว้นของประเทศเยอรมนี และได้แพร่หลายไปยังแคว้นใกล้เคียงอื่นๆ หลังจากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วยุโรป ซึ่งลักษณะท่าทางการเต้นรำส่วนใหญ่ไม่เพียงแต่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเท่านั้น ยังมีการเพิ่มเติมหลักการต่างๆ มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้เพื่อให้เป็นการเต้นรำที่ทันสมัยที่สุดแบบหนึ่ง

เมื่อสิ้นสุดศตวรรษที่ 18 เข้าสู่ศตวรรษที่ 19 รูปแบบการเต้นรำจังหวะวอลทซ์เป็นการเต้นตามทำนอง 3-8 ซึ่งค่อนข้างเป็นการเต้นรำแบบชุด (SET DANCE) โดยคู่เต้นรำยืนเป็นวงกลมรอบห้องจับมือกันไว้ การเต้นจะประกอบด้วยลวดลายต่างๆ กันหลายลวดลาย ดังหลักฐานภาพวาดการเต้นซึ่งวาดโดย โทมัส โรว์แลนด์สัน (THOMAS ROWLANDSON) ในหนังสือของวิลสันที่พิมพ์ในปี ค.ศ.1806

ประมาณปี ค.ศ.1812 การเต้นรำจังหวะวอลทซ์ที่มีการจับคู่แบบใหม่ก็ฝังรากลึกลงในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ (CARL MARIA VON WEBER) ผู้ประพันธ์เพลง "แดร์ ไฟรชิทซ์" และ "โอเบอรอง" ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงมากคือ "อินวิเทชั่นอาลาวัลส์"(INVITATION A'LA VALSE) ซึ่งพจนานุกรมของโกรฟ (GROVE'S DICTIONARY)อธิบายว่าเป็นการปรับปรุงรูปแบบของวอลทซ์ให้เป็นดนตรีอย่างแท้จริง ซึ่งการเต้นวอลทซ์ที่มีการจับคู่แบบใหม่นี้ ในตอนแรกได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายศาสนจักร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ปกครองมีการเสียดสีเยาะเย้ยเพื่อมิให้สาวๆ เข้าร่วมในการเต้นรำ แต่สภาพการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ในที่สุดสังคมก็ยอมรับการเต้นรำแบบใหม่นี้เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ (ALEXANDER) แห่งรัสเซียได้เต้นรำจังหวะวอลทซ์ที่อัลแมค (ALMACK'S HALL) ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับผู้มีเกียรติยศชั้นสูง


CARL MARIA VON WEBER

ความก้าวหน้าของการเต้นรำที่เราเรียกว่าเป็นการเต้นรำสมัยใหม่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ.1830-1840 เมื่อมีการเต้นรำแบบใหม่ๆ มากขึ้น รวมทั้งการเต้นโพลก้า (POLKA) ซึ่งมีกำเนิดจากโบฮีเมีย(BOHEMIA) มาเซอร์ก้า (MAZURKA) จากโปแลนด์ และชาติชขึ้นในสถานที่เต้นรำต่างๆ ในขณะเดียวกันก็มีแนวโน้มที่จะตัดลวดลายการเต้นที่เคยมีมา เช่น อองเตรอะชา และรองด์เดอชองเบอะ ซึ่งอยู่ในการเต้นรำแบบ "กาดริย์" และการเต้นรำแบบอื่นๆ ออกไป ในปี ค.ศ.1848 เซลลาริอุส ครูสอนเต้นรำที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีส่วนเคลื่อนไหวสำคัญในการปฏิรูปการเต้นรำ ได้เขียนหนังสือชื่อ "การเต้นรำที่ทันสมัย" (FASHIONABLE DANCING) มีข้อความที่น่าสนใจคือ "ในขณะนี้ผู้เต้นรำวัยหนุ่มสาวถูกกล่าวหาว่ามาเดินมิใช่มาเต้นรำ พวกเขาทำผิดหรือไม่การที่ไม่เต้นอองเตรอะชาและรองด์เดอชองเบอะ และการเต้นที่ยุ่งยากในสมัยก่อนซึ่งยากที่จะจดจำ ไม่สมบูรณ์ และตลกที่สุด ซึ่งมีผู้นำมาแสดงตามเวทีโรงละคร มันเป็นศิลปะที่สมบูณ์หรือไม่"
                                           
พระนางวิคตอเรีย (ค.ศ. 1837-1901)

เมื่อสิ้นสุดสมัยพระนางวิคตอเรีย (VICTRIA ERA) การเต้นรำแบบบอลรูมมีแนวโน้มว่าจะหยุดอยู่กับที่ ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่าเนื่องจากขาดดการพัฒนารูปแบบการเต้นแบบใหม่ๆ มีการนำการเต้นแบบทูสเต็ป(TWO STEP) ซึ่งนิยมเต้นกันในนิวยอร์กเข้ามาในอังกฤษ แต่เป็นการเต้นแบบ "แชสเซ่อาตรัวปาส"(CHASSE' A' TROIS PAS) จนกระทั่งในตอนต้นศตวรรษที่ 20 นี้ ก็ได้มีการเต้นรำแบบใหม่ๆ ที่ใช้เต้นกับดนตรีจังหวะวอลทซ์ที่เรียกว่าการเต้น "บอสตัน" (BOSTON) และการเต้น "แร็ก" (RAG)ซึ่งการเต้นรำแบบใหม่ๆนี้เป็นที่นิยมของคนหนุ่มสาวซึ่งเบื่อหน่ายวอลทซ์และการเต้นรำแบบใหม่นี้ก็ได้สร้างความมีชีวิตชีวาให้แก่สถานที่เต้นรำขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

เยาวชนซึ่งเต้นรำตามสโมสรต่างๆ ก่อนหน้าสงครามปี ค.ศ.1914 ได้เปลี่ยนแปลงเทคนิคและรูปแบบการเต้นรำของครูเก่าๆ เกี่ยวกับการก้าวเท้า 5 ตำแหน่ง และการเคลื่อนไหวที่สวยงาม และเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 สถาบันเต้นรำเก่าๆ เปลี่ยนบรรดากรรมการ จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงการเต้นขึ้นโดยบรรดานักเต้นรำด้วยกันเอง กล่าวคือ "ไปตามสบาย
อย่างอิสระที่ต้องการในการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติอาจจะมากกว่า หรือน้อยกว่าก็ได้" ซึ่งเทคนิคการเต้นรำใหม่นี้มีพื้นฐานจากการเคลื่อนไหวตามธรรมชาตินั่นเอง และการเกิดขึ้นของการเต้นรำในจังหวะฟอกซ์ทร็อต (FOXTROT)





ในปี ค.ศ.1914 ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากก็ยิ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นจนไม่เหลือเทคนิคเก่าๆ อีกเลย 
การเต้นรำที่ไม่มีกฎเกณฑ์นี้เกิดขึ้นจนกระทั่งปี ค.ศ.1918 หลังจากที่มีการประกาศยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงได้เริ่มมีการวางกฎเกณฑ์ขึ้นในปี ค.ศ.1920 โดย "เดอะด๊านซิ่งไทม์" (THE DANCING TIMES) ได้จัดให้มีการประชุมครูสอนเต้นรำขึ้นอย่างไม่เป็นทางการเพื่อพยายามวางกฎเกณฑ์ และแบบแผนของการเต้นฟอกซ์ทร็อตและวันสเต็ป (ONE STEP) ให้เป็นมาตรฐาน และได้มีการสาธิตการเต้นรำจังหวะฟอกซ์ทร็อต โดยมี มัวไรซ์และลีโอโนรา ฮิวส์ (MAURICE AND LEONORA HUGHES) เป็นผู้สาธิตการเต้นด้วย ซึ่งครูสอนเต้นรำเหล่านี้เป็นกลุ่มนักเต้นรำรุ่นแรกๆ ของโลก ที่รับรู้ว่าการเต้นรำแบบเก่าๆ หมดไปแล้ว และได้พัฒนาเทคนิคการเต้นรำแบบบอลรูมใหม่ (MODERN BALLROOM) ให้มีพื้นฐษนการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ ด้วยการก้าวเท้าไปตามแนวทิศทางของการเดิน (ALIGNMENT) ในการลีลาศ 

ต่อมาในปี ค.ศ.1924 ครุสอนเต้นรำกลุ่มนี้ได้เลือกตั้งคณะกรรมการของสมาคมครูสอนเต้นรำในสาขาการเต้นรำแบบบอลรูมขึ้นเป็นครั้งแรก (COMMITTEE OF THE "BALLROOM BRANCH" OF THE IMPERIAL SOCIETY OF TEACHERS OF DANCING) ซึ่งคณะกรรมการชุดแรกนี้ประกอบด้วย โจเซฟิน แบรดเลย์ , อีฟ ทีนนีเกท สมิช , มัวรีล ซิมมอนส์ , ลิสลี ฮัมฟรีย์ และวิคเตอร์ ซิลเวสเตอร์ สมาคมครูสอนเต้นรำนี้ได้พัฒนาและกำหนดแบบแผนการเต้นรำมาจนถึงปัจจุบันที่เรียกกันว่าการเต้นรำ "สไตล์อังกฤษ" ซึ่งได้รับการเผยแพร่และมีอิทธิพลไปทั่วโลก

ในปี ค.ศ.1929 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการลีลาศ (OFFICIAL BOARD OF BALLROOM DANCING) ขึ้นในประเทศอังกฤษและได้ทำหน้าที่จัดการแข่งขันลีลาศขึ้นทุกปีโดยเริ่มจัดแข่งขันชิงแชมเปี้ยนสหราชอาณาจักรขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมืองแบลคพูล (BLACKPOOL) 

ปี ค.ศ.1950 ประเทศต่างๆ ได้ร่วมกันก่อตั้งสภาการลีลาศนานาชาติขึ้น (INTERNATIONAL COUNCIL OF BALLROOM CANCING : I.C.B.D.) และในปีเดียวกันนี้ได้มีการนำจังหวะเต้นรำใหม่ๆ มาเผยแพร่อีก เช่น จังหวะแมมโบ้ และ ชา ชา ช่า เป็นต้น และในปี ค.ศ.1953 ได้จัดให้มีการแข่งขันลีลาศชิงแชมเปี้ยนระหว่างประเทศขึ้นที่ อับเบิร์ต ฮอลล์ ในมหาลอนดอน 

ปี ค.ศ.1959 ได้มีการจัดแข่งขันลีลาศชิงแชมเปี้ยนโลกขึ้นที่ประเทศอังกฤษ โดยจัดแข่งขันทั้งประเภทสมัครเล่นและอาชีพ ตามกฎเกณฑ์ที่สภาการลีลาศระหว่างประเทศกำหนด จังหวะที่จัดให้มีการแข่งได้แก่ วอลทซ์แบบอังกฤษ ฟอกซ์ทร็อต แทงโก้ ควิกสเตป และควิกวอลทซ์หรือเวียนนิสวอลทซ์ ในโอกาสนี้ประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ได้แนะนำการเต้นรำจังหวะร็อคแอนด์โรลให้ชาวโลกได้รู้จัก

ในสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ.1960 มีการเต้นรำจังหวะใหม่ๆ ซึ่งเกิดขึ้นโดยอเมริกันนิโกร คือ จังหวะทวิสต์(TWIST) การเต้นรำจะใช้การบิดลำตัว เข่าโค้งงอ การเต้นไม่จำเป็นต้องจับคู่กัน คือต่างคนต่างเต้น และจังหวะฮัลเซ่ล ซึ่งได้รับความนิยมไปทั่วโลก 


ปี ค.ศ.1970 จังหวะการเต้นรำที่เรียกว่าดิสโก้ ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นจังหวะที่ผู้เต้นสามารถเต้นได้ตามลำพัง และรูปแบบการเต้นการเคลื่อนไหวขึ้นอยู่กับผู้เต้นเอง เป็นการเต้นรำที่ผู้เต้นมีอิสระในการเคลื่อนไหวอย่างมาก

  ปัจจุบันมีการเต้นรำแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกหลายจังหวะ เช่น แฟลชแด๊นซ์ (FLASH DANCE) เบรกแด๊นซ์ (BRAKE DANCE) และแร็พ (RAP) ซึ่งมักมีกำเนิดจากอเมริกันนิโกร และยังมีการเต้นรำโดยใช้ท่าบริหารร่างกายประกอบจังหวะดนตรีที่เรียกว่า "แอโรบิกแด๊นซ์ซึ่งได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันการเต้นรำในแบบต่างๆเหล่านี้ไม่จัดอยู่ประเภทของการลีลาศ

แบบฝึกหัด

1. ใครเป็นบิดาการแพทย์แผนไทยแบบประยุกต์
           ก. ศาสตราจารย์ นายแพทย์อวย เกตุสิงห์
           ข. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
           ค. นายแพทย์ประกิตเผ่า ทมทิตชงค์
           ง. นายแพทย์ประจักษ์ อรุณทอง
2. วัดใดที่รัชกาลที่ ๑โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวม และจารึกตำรายาไว้ตามศาลาราย
            ก. วัดสุทัศน์เทพวราราม ราชวรมหาวิหาร
            ข. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 
            ค. วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
            ง. วันอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
3. ใครเป็ยคนที่เผยแพร่การแพทย์ตะวันตกมาใช้ในไทยครั้งแรก
            ก. หมอเส็ง
            ข. หมอบรัดเลย์
            ค. หมอนิ่ม
            ง. หมอหมี
4. ข้อใดไม่ควรทำในก่อนเริ่มเต้นลีลาศ
             ก. ฟังจังหวะของเพลงนั้นให้ออกเสียก่อน
             ข. ผู้หญิงไปขอผู้ชายเต้นรำ
             ค. ปฏิเสธผู้มาขอออกเต้นรำอย่างสุภาพ
             ง. เชื้อเชิญญาติสนิทของตนที่มากับชายอื่นออกลีลาศ
5. ข้อใดควรทำขณะเต้นลีลาศ
             ก. ร้องเพลง
             ข.เต้นท่าแผลง ๆ ด้วยความสนุกสนาน
             ค. ให้ความสนใจคู่ลีลาศของตน
             ง. เปลี่ยนคู่เต้นรำขณะอยู่บนฟลอร์
6. ข้อใดไม่ควรทำในการเริ่มเต้นลีลาศ
             ก. เดินขึ้นบนฟลอร์พร้อมกัน
             ข. เดินลงฟลอร์พร้อมกัน
             ค. ฝ่ายชายเดินนำขึ้นฟลอร์
             ง. ฝ่ายชายเดินนำลงฟลอร์
7.ข้อใดคือจังหวะการเต้นรำซึ่งมีพื้นฐานจากการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ ก่อตั้งโดยเยาวชนในช่วงก่อนสงครามปี ค.ศ.1914
             ก. Waltz
             ข.Two steps
             ค.Dubstep
             ง.Foxtrot
8. สมาคมสมัครเล่นเต้นรำ จัดตั้งขึ้นในปีพ.ศ.ใด โดยใคร
             ก. พ.ศ. 2475, คณะราษฎร นำโดย นายปรีดี พนมยงค์
             ข. พ.ศ. 2475, หม่อมเจ้าวรรณไวทยากรวรรณ และนายหยิบ  ณ นคร
             ค. พ.ศ. 2479, คณะราษฎร นำโดย นายปรีดี พนมยงค์
             ง. พ.ศ. 2479, หม่อมเจ้าวรรณไวทยากรวรรณ และนายหยิบ  ณ นคร
9. สมาคมครูสอนเต้นรำในสาขาการเต้นรำแบบบอลรูม (COMMITTEE OF THE "BALLROOM BRANCH" OF THE IMPERIAL SOCIETY OF TEACHERS OF DANCING) ซึ่งประกอบไปด้วย โจเซฟิน แบรดเลย์ , อีฟ ทีนนีเกท สมิช , มัวรีล ซิมมอนส์ , ลิสลี ฮัมฟรีย์ และวิคเตอร์ ซิลเวสเตอร์ ได้พัฒนาและกำหนดแบบแผนการเต้นรำที่มีชื่อว่าอะไร
             ก. สไตล์อเมริกัน
             ข. สไตล์อังกฤษ
             ค. แบบฉบับผู้ดีเก่า
             ง. แบบฉบับในวังหลวง